เทคโนโลยี

กินเจ มีเฮ ! นวัตกรรมสร้างเนื้อสุดอร่อยที่ได้มาจากสัตว์

หลายๆคนคงได้ยินข่าว Impossible burger มาแล้ว ว่าเป็นแฮมเบอร์เกอร์เนื้อที่สร้างมาจากเซลล์พืช และที่สำคัญมีรสชาติที่ดีด้วย


เนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาจากสัตว์ ฟังครั้งแรกอาจจะไม่คุ้นหูสักเท่าไร เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้จะมาจากการปริ้นแบบสามมิติ (3D printer) ขึ้นมาเป็นชิ้นเนื้อซึ่งมีรูปร่างและรสสัมผัสยังเหมือนกับรสชาติของเนื้อจริงๆ

การทดลองปริ้นเนื้อสัตว์นี้ เริ่มจากการนำเนื้อเยื่อของวัวมาเพาะเลี้ยงในน้ำที่มีสารอาหารครบถ้วนเหมือนกับร่างกายวัว จากนั้นก็นำเข้าสู่เครื่อง magnetic printer เพื่อปริ้นเนื้อสัตว์ออกมา และแน่นอนว่าการทดลองนี้ประสบความสำเร็จจากการทดลองในอวกาศเรียบร้อยแล้ว

#ทำไมเทรนด์เนื้อที่ไม่ได้มาจากสัตว์ถึงมาแรง
ในต่างประเทศมีสตาร์ทอัพด้านนี้เกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากปัจจัยหลักๆดังนี้
- Global Warmimg : การเลี้ยงสัตว์นั้น ต้องอาศัย น้ำ อาหารสัตว์ และอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกเยอะมาก
- Population Growth : ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องเพิ่มกำลังการผลิต และการเพิ่มปริมาณอาหารให้เพียงพออาจเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
- Urbanization : คนมาอาศัยอยู่ในเมืองมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้น
Healthier Food คนตระหนักอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

#ความท้าทายของเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาจากสัตว์
ความรู้สึกถึงความอร่อย , ราคาในตอนนี้ที่ยังสูงอยู่ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ และ การ Scale ให้เข้าถึงทุกๆคน

#อนาคตกับเนื้อที่ไม่ได้มาจากสัตว์
เทรนด์การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาจากสัตว์จะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นไปทั่วโลก เพราะนอกจากเรื่องของลดภาวะโลกร้อนแล้ว เรายังได้รับคุณภาพอาหารที่ดีขึ้นด้วย

ประเทศจีนคิดจะนำเข้าเนื้อสัตว์แบบ Plant based มากถึง 50% จากอิสราเอล
เมืองไทยเองในฐานะที่มีจุดเด่นในเรื่องของอาหาร ก็ควรที่จะเข้าไปศึกษาตลาดนี้ให้มากขึ้น

สุดท้ายนี้ อุตสาหกรรมที่ไม่คิดว่าจะโดน Disrupt อย่างอาหาร ก็ยังโดน Disrupt ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ก็ควรหมั่นศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจของคุณก้าวมาอยู่ข้างหน้า

ที่มา
https://www.theguardian.com/.../3d-printed-meat-european...
https://www.businessinsider.com/meat-grown-in-space-with...
https://soundcloud.com/missiontothemoon

(0 Votes)

ติดต่อสมาคม

ติดต่อสมาคมนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา

ที่อยู่ : 163 อาคารรัชต์ภาคย์ ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท ซอย 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ : 02-2580570-2

E-mail : service.ipa@gmail.com

Website : www.ipa.or.th